ธุรกิจรถเช่ากับ AEC

AEC คืออะไร | รถเช่ากับ AEC

AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมของชาติใน Asean 10 ประเทศโดยมี ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจจะมีรูปแบบคล้ายๆกลุ่ม Euzo zone นั้นเองจะทำให้มีผลประโยชน์อำนาจต่อรองต่างๆกับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้าส่งออกของชาติ อาเซียนก็จะเสรียกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ล่ะประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว) Asean จะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 ณ วันนั้นทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียว

ความเป็นมาของ AEC

AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน

เป้าหมายของ AEC

1.ส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวมีการเคลื่อนย้าย สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือโดยเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น

2.ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน 

3.ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก 

4.ส่งเสริมการรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกของอาเซียน 

ผลกระทบของ AEC ต่อประเทศไทย

ในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) พร้อมกับเพื่อนประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 9 ประเทศ โดยมีข้อตกลงที่กลุ่มสมาชิกอาเซียนยอมรับร่วมกันในเรื่องคุณสมบัติหรือมาตรฐานในแต่ละวิชาชีพ (Mutual  Recognition  Arrangement : MRA) อยู่ด้วย ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพหรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี จุดประสงค์ของ MRA ของอาเซียนก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ โดยอาเซียนตกลงกันว่าจะยอมรับคุณสมบัติเพื่ออำนวยความสะดวกในขั้นตอนการขอใบอนุญาต แต่ MRA ของอาเซียนจะยังไม่ไปถึงขั้นที่จะยอมรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งกันและกัน และจะเน้นหลักว่านักวิชาชีพต่างด้าวจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศที่ตนต้องการเข้าไปทำงาน

การเตรียมตัวรับมือ AEC

                การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นมากกว่าการเปิดเสรีทางการค้า ที่นอกจากจะส่งผลให้อาเซียน 10 ประเทศ เป็นเหมือนประเทศเดียวกัน ไม่มีกำแพงภาษี ไม่มีการกีดกันทางการค้า สินค้า บริการ การลงทุน แรงงาน มีฝีมือเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ยังจะประกอบไปด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลากหลายสาขา เช่น เกษตร การส่งเสริม SME การคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ดังนั้นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน

ภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการ ในฐานะผู้ใช้สิทธิประโยชน์จาก AEC จำเป็นต้องเรียนรู้ถึงโอกาสและความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งในด้านการเปิดเสรี และการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนในอาเซียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของภาคเอกชนไทยในตลาดโลก หากรู้จักใช้ประโยชน์จากการเป็น AEC ไม่ว่าจะเป็นตลาดภูมิภาค ฐานการผลิต ฐานการลงทุน และพันธมิตรทางการค้า

ภาคประชาชน ในฐานะผู้บริโภค จะเกี่ยวข้องกับ AEC โดยการมีโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าและบริการจากประเทศอาเซียนอื่นที่มีคุณภาพและราคาที่หลากหลายมาก ขึ้น รวมทั้งมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากการบริโภคข้ามพรมแดน ขณะเดียวกัน ประชาชนก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจในคุณภาพ และมาตรฐานสินค้า และการให้บริการต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ถูกเอาเปรียบ/หลอกลวงจากสินค้าหรือบริการที่ด้อยคุณภาพ

ภาคประชาชน ในฐานะลูกจ้างไม่ว่าจะอยู่ในภาคราชการ หรือภาคเอกชน จะมีโอกาสและความท้าทายที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือในภูมิภาคที่ง่ายขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาส ในการเข้าไปท้างานในประเทศสมาชิกอาเซียน และเพิ่มรายได้จากการทำงานในต่างประเทศ แต่ในทางกลับกันก็จะต้องเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดแรงงานภายในประเทศจากแรงงานมีฝีมือของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น

1.พัฒนาระบบและฐานข้อมูลการค้าการลงทุน

2.สร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐของไทยและอาเซียน

3.ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายพันธมิตรระหว่างภาคธุรกิจไทยและอาเซียน

4.ส่งเสริมสินค้าและธุรกิจบริการที่ตรงกับความต้อง

5.ยกระดับภาพลักษณ์สินค้าและธุรกิจบริการไทย และส่งเสริมการสร้างตราสินค้าไทย

6.ส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการไทย

7.พัฒนาระบบลอจิสติกส์และอ้านวยความสะดวกทางการค้า

สถานการณ์ตลาดรถเช่าปัจจุบันในประเทศไทย

ปัจจุบันองค์กรธุรกิจภาคเอกชน หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจต่างหันมาใช้บริการรถเช่าในการการดำเนินงานมากขึ้น เพื่อลดความยุ่งยากและลดต้นทุนในการบริหารรถยนต์ ขณะเดียวกันค่าเช่ายังสามารถนำไปบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ในการชำระภาษีประจำปีได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนี้จะเติบโตได้ก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการจะต้องมีความพร้อมในด้านการบริการด้วยความเอาใจใส่ ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ศูนย์บริการครอบคลุมทั่วประเทศ และจำนวนรถสำรองเพื่อทดแทนระหว่างการซ่อมบำรุง เพื่อทำให้ผู้เช่าเกิดความเชื่อมั่นที่จะใช้บริการต่อไป

ธุรกิจรถเช่าจะปรับตัวอย่างไรเพื่อความอยู่รอดใน AEC

การเติบโตของภาคธุรกิจท่องเที่ยวไทยและอาเซียน ที่คาดว่า ภายหลังจากการเปิดเสรี AEC จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยและประเทศ ต่างๆในอาเซียนมากขึ้น ซึ่งจุดนี้นับเป็นโอกาสในการขยายตลาดสำหรับ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ให้บริการรถเช่าที่เน้นจับตลาดนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นตลาดท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือตลาดท่องเที่ยวในอาเซียน โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย อาทิ พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา เป็นต้น 

Visitors: 2,104,968