วิธีขับรถเกียร์ออโต้
ทำไมต้องขับรถเกียร์ออโต้
ปัจจุบันผู้ใช้รถยนต์ ส่วนใหญ่จะเลือกใช้รถยนต์เกียร์ออโต้เพราะความง่ายและสะดวกสบายกว่าการขับรถยนต์ด้วยรถเกียร์ธรรมดา ดังนั้นเราจึงเห็นรถยนต์ในท้องถนนบ้านเราส่วนมาเป็นรถยนต์เกียร์ออโต้โดยเฉพาะในเมือง ซึ่งการขับรถยนต์ในเมือง เต็มไปด้วยสภาพการจราจรที่ติดขัด รถยนต์เคลื่อนตัวได้อย่างช้าๆ เพราะปัญหา รถติด ซึ่งการขับรถยนต์ด้วยเกียร์ออโต้จะช่วยให้ผู้ขับรถ ขับอย่างสบายมากขึ้น เพราะไม่ต้องคอยเปลี่ยนเกียร์บ่อยๆ เกียร์ออโต้ช่วยให้การวางตัวของเท้าง่ายขึ้น ทำให้ไม่เมื่อยล้าเท้า นี่คือข้อดีของรถยนต์เกียร์ออโต้ ครับ (content by ECOCAR rent-a-car #เช่ารถ กับ บริษัทรถเช่าอันดับ 1 ของกรุงเทพ)
มาดูหน้าตาของรถเกียร์ออโต้
รถยนต์เกียร์อัตโนมัติ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า รถเกียร์ออโต้นั้น เป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เพราะให้ความสะดวกสบายแก่ผู้ขับขี่เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะถ้าเป็นการขับขี่ในเมืองที่ขึ้นชื่อว่า รถติดมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก อย่างกรุงเทพมหานครด้วยแล้ว เกียร์ออโต้จะช่วยให้เราไม่ต้องคอยเปลี่ยนเกียร์ เหยียบคลัตช์ ให้เมื่อยเนื้อเมื่อยตัวเหมือนกับการขับขี่ด้วยเกียร์ธรรมดาเลยล่ะ หลายๆ คนคงสงสัยกันว่า วิธีขับรถเกียร์ออโต้ มันทำอย่างไร? วันนี้เราจะมาเฉลยให้รู้กัน
ก่อนที่จะเรียนวิธีขับรถเกียร์ออโต้ มาดูตำแหน่งต่างๆของเกียร์ออโต้ ก่อนครับ
1. P (Parking) ใช้ สำหรับจอดรถ ซึ่งจะล็อคล้อไว้ไม่ให้รถเคลื่อน โดยเราจะเปลี่ยนเกียร์มาที่ P เมื่อรถจอดนิ่งสนิทแล้วและต้องการดับเครื่อง เลิกใช้งาน หรือเมื่อต้องการจอดรถบนทางลาดชัน (ข้อแนะนำ : ควรดึงเบรคมือ เสริมด้วย เพื่อป้องกันเกียร์เสียหาย ถ้าถูกชนท้าย) นอกจากนั้น ก่อนสตาร์ทรถ ตำแหน่งเกียร์ควรจะอยู่ที่ P เช่นเดียวกัน
2. R (Reverse) คือ เกียร์ถอยหลัง โดย เมื่อเกียร์มาอยู่ที่ตำแหน่ง R นี้แล้ว รถจะถอยหลังไปได้เองอย่างช้าๆ โดยไม่ต้องเหยียบคันเร่งเลย (ข้อแนะนำ: ขณะกำลังถอยหลัง ไม่ควรเหยียบคันเร่ง เพราะจะทำให้รถถอยหลังไปอย่างรวดเร็ว อาจจะชนคนได้ ดังนั้นควรวางเท้าไว้ที่บนแป้นเบรค เพื่อเตรียมพร้อมในการเหยียบเบรค ขณะทำการถอยหลัง)
3. N (Neutral) คือ เกียร์ว่าง ใช้ เมื่อต้องการจอดรถไว้ชั่วคราว เช่น ขณะจอดรถติดไฟแดง และเมื่อเกียร์อยู่ในตำแหน่ง N นี้ รถจะสามารถถูกเข็นไปได้ (เวลาที่เราจอดรถขวางหน้ารถคันอื่นๆ ตามห้าง ควรใส่เกียร์ว่าง และปลดเบรคมือออกด้วย)
4. D หรือ D4 คือ เกียร์เดินหน้า 4 Speed ใช้ในการขับขี่ปกติ โดยเมื่อเปลี่ยนเกียร์มาที่ D แล้ว รถจะเริ่มออกตัว แล่นไปเองอย่างช้าๆ และเมื่อเหยียบคันเร่ง รถจะเริ่มเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติ โดยเริ่มจากเกียร์ 1 แล้วไปเกียร์ 2 แล้วไปเกียร์ 3 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 4 ขึ้นอยู่กับความเร็วของรถ (ปกติ ถ้าวิ่งบนทางราบ เราจะใช้เกียร์ D นี้บ่อยสุด)
5. 3 หรือ D3 คือ เกียร์เดินหน้า 3 Speed ส่วนใหญ่ใช้ในการขับขึ้น-ลงเนินที่ไม่ชันมาก เช่น ขึ้นสะพาน โดยรถจะเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติ โดยเริ่มจากเกียร์ 1 แล้วไปเกียร์ 2 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 3 นอกจากนี้เรายังใช้ในกรณีที่ต้องการเร่งแซงรถที่อยู่ข้างหน้าด้วย โดยขณะที่รถวิ่งด้วยตำแหน่งเกียร์ D4 เป็นระยะเวลานาน เมื่อเปลี่ยนเป็นเกียร์ D3 จะทำให้เครื่องยนต์มีกำลัง ทำให้เครื่องแรงและสามารถแซงไปได้อย่างรวดเร็ว
6. 2 หรือ D2 คือ เกียร์เดินหน้า 2 Speed ใช้เมื่อต้องการขับรถขึ้น-ลงเนิน หรือเขาที่ค่อนข้างชัน หรือ ขับขึ้น-ลง ตามห้าง โดยรถจะเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติ โดยเริ่มจากเกียร์ 1 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 2
7. L (Low)คือ เกียร์ 1 ซึ่งจะใช้ในการขับขึ้น-ลง เขาที่สูงชันมากๆ เมื่อลงเขาด้วยเกียร์ L จะเป็นการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรค เพื่อลดการเหยียบเบรค เพราะอาจจะทำให้ผ้าเบรคหมดเร็วได้
วิธีขับรถเกียร์ออโต้ แบบฉบับ ECOCAR
วันนี้ รถเช่า ECOCAR เรามีวิธีขับรถเกียร์ออโต้ แบบง่ายๆมาฝากครับ
1. การสตาร์ท ตำแหน่งเกียร์ควรอยู่ที่ P ใช้เท้าขวาเหยียบเบรคไว้ แล้วก็บิดกุญแจสตาร์ท
2. การขับเดินหน้า ขณะที่เท้ายังคงเหยียบเบรค ให้เลื่อนตำแหน่งเกียร์มาเป็นตำแหน่ง D หรือ D4 จากนั้นค่อยๆ ผ่อนเท้าออกจากเบรค ซึ่งตอนนี้รถจะแล่นไปได้เองอย่างช้าๆ แล้วเราจึงค่อยๆ เหยียบคันเร่งเพื่อให้ได้ตามความเร็วที่เราต้องการ
3. การขับขึ้นลง ทางลาดชัน ผ่อนความเร็วรถแล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง L แล้วก็เหยียบคันเร่งไปตามความต้องการ
4. การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ L มาเป็น D ผ่อนความเร็ว แล้วเลื่อน มาที่ตำแหน่ง D แล้วขับไปตามปกติ
5. การจอดรถ ค่อยๆ ผ่อนความเร็วรถเมื่อรถจอดสนิทก็เลื่อนตำแหน่งมาที่ P ใส่เบรคมือ ดับเครื่อง
6. การจอดรถในลักษณะกีดขวางคันอื่น หรือการจอดแบบปลดเกียร์ว่าง เมื่อจอดปกติตามข้อ 3 แล้ว แต่ไม่ต้องดึงเบรคมือขึ้นก็กดปุ่มเล็กๆ แล้วเลื่อนตำแหน่งเกียร์ไปที่ N
7. การจอดกรณีติดไฟแดง เหยียบเบรคค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง N
8. การถอยหลัง เหยียบเบรคค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง R ค่อยๆ ผ่อนเบรคเพราะรถจะถอยได้เอง แต่ถ้าต้องการให้ถอยเร็วหรือกรณีถอยขึ้นที่สูงก็อาจเหยียบคันเร่งแบบค่อยๆ เหยียบ
วิธีขับรถเกียร์ออโต้ให้ถูกต้อง
ปัจจุบันรถยนต์ที่เป็นเกียร์ออโตเมติกเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากขับขี่สบายไม่ต้องเมื่อยเปลี่ยนเกียร์และเหยียบคลัตช์ (Clutch) ตลอดเวลายามรถติด แต่อาจมีบางท่านเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้เกียร์ออโต ส่งผลให้ทอนอายุการใช้งานของรถโดยไม่รู้ตัว...การเปลี่ยนเกียร์จาก D ไป N ในเวลาที่รถติดไฟแดงบ่อยๆ นั้นหลายคนคงเคยปฏิบัติกันอยู่เนื่องจากเวลารถติดขี้เกียจเหยียบเบรกก็เข้าเกียร์ N ไว้ เมื่อรถเคลื่อนก็เปลี่ยนเป็น D ถ้าช่วงรถติดแล้วขยับเคลื่อนทีละนิดทีละหน่อย ทำให้ต้องเปลี่ยน D-N-D-N-D-N อยู่อย่างนี้เท่ากับคุณกำลังทำร้ายระบบเกียร์ของคุณอยู่
ระบบเกียร์ออโตเมติกนั้นจะประกอบด้วยชุดเกียร์ที่ขบกันตลอดเวลา การส่งแรงจาก N ไป Dจะต้องมีการสึกหรอของเฟืองนั้นต้องมีการปล่อยและจับอยู่ตลอดเวลา อายุการใช้งานก็จะสั้นลง เพราะถ้าเบรกอยู่เฉยๆระบบเบรกก็ไม่ได้ร้อนขึ้นเพราะว่าจานดิสเบรกหรือดุมเบรกไม่ได้หมุน ผ้าเบรกก็ไม่สึกหรอเพราะว่าล้อไม่หมุนแรงที่ใช้ในการเหยียบก็ไม่มากขนาดจะทำให้ชุมแม่ปั๊มเบรกพังหรือทำให้อายุการใช้งานน้อยลง
หลายคนที่เปลี่ยนเกียร์ D-N-D-N-D-N
อ่านถึงบรรทัดนี้แล้วก็อยากจะเถียงว่าไม่เห็นมีการเปลี่ยนแปลงเลย รถยังคงสามารถขับได้ตามปกติ ระบบเกียร์ก็ยังปกติดอยู่ แต่พฤติกรรมอย่างนี้จะส่งผลแก่รถคุณในระยะยาว เปรียบเหมือนกับการสูบบุหรี่นั่นแหละ ระบบคลัตช์ของคุณจะลื่น ทำให้เวลาออกตัวคุณจะต้องเหยียบคันเร่งมากขึ้นทำให้รอบสูงขึ้น น้ำมันก็เปลืองขึ้น แต่รถกลับไม่ได้วิ่งอย่างนั้นเลยสูงขึ้น น้ำมันก็เปลืองขึ้น แต่รถกลับไม่ได้วิ่งอย่างนั้นเลย #วิธีขับรถเกียร์ออโต้
วิธีขับรถเกียร์ออโต้ให้ปลอดภัย
หลายคนมักเข้าใจว่า เกียร์ออโตเมติกสามารถตอบสนองการขับขี่ได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะในความเร็วและอัตราเร่งขณะแซง หากคุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ ในการใช้เกียร์ออโตเมติก ผมเชื่อว่าคุณจะขับรถเกียร์ออโตเมติกได้อย่างสบาย และเพลิดเพลินด้วยความปลอดภัยไม่แพ้รถเกียร์ธรรมดาเลยครับ มาดูวิธีขับรถเกียร์ออโต้กันครับ
ผู้ขับขี่ส่วนมากใช้เกียร์อยู่เพียง 4 ตำแหน่ง นั่นคือ "D4" เมื่อต้องการขับรถไปข้างหน้า
"R" เมื่อต้องการถอยหลัง "N" หรือ "P" เมื่อต้องการจอด หรือสตาร์ตรถ
อันที่จริงแล้วคุณควรใช้เกียร์ตำแหน่งอื่น เพื่อเหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์เช่นกัน
สัปดาห์นี้ผมขอกล่าวถึง เทคนิคการขับรถเกียร์ออโตเมติกเมื่อลงทางลาดชัน และการคิก ดาวน์ (Kick Down) เมื่อต้องการเร่งแซงครับ สำหรับการขับรถลงทางลาดชัน ผมขอแนะนำให้เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง "D3" กรณีที่ทางลงนั้นมีระยะเวลายาวแต่ไม่ชันมากนัก แต่กรณีที่ทางลงนั้นชันมาก ๆ ให้เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง "2" เพื่อใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก (Engine Brake) ในขณะเดียวกันคุณควรเหยียบเบรกไปด้วย หรืออาจใช้เบรกมือ เพื่อช่วยในการหยุดรถที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้อย่าใช้เกียร์ "N" หรือ "D4" ในการขับรถลงทางชัน เพราะจะไม่มีกำลังเครื่องยนต์ช่วยเบรกและช่วยชะลอความเร็ว นับเป็นการขับที่ผิดวิธีและเป็นอันตรายอย่างมาก
กรณีที่ต้องการเร่งแซงรถคันอื่น หรือต้องการแรงเพิ่มขับเคลื่อนรถอย่างกะทันหัน คุณสามารถเพิ่มความเร็วของรถด้วยการคิก ดาวน์ (Kick Down) โดยเหยียบคันเร่งลงไปเกินกว่า 80% ในครั้งเดียวเกียร์จะเปลี่ยนลงอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากรอบเครื่องยนต์จะสูงขึ้น ในขณะที่รถจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น
สาระควรรู้เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ ระยะเบรกที่ปลอดภัย
ที่ความเร็ว 20 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 7 เมตร
ที่ความเร็ว 40 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 18 เมตร
ที่ความเร็ว 60 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 34 เมตร
ที่ความเร็ว 80 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 54 เมตร
ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 80 เมตร
9 วิธีขับรถเกียร์ออโต้ สำหรับมือใหม่หัดขับ
ผู้ผลิตรถแทบทุกค่าย ต่างพากันใส่เกียร์อัตโนมัติไว้ให้เป็นทางเลือกของลูกค้า ที่ใช้งานส่วนใหญ่ในเมืองที่มีสภาพการจราจรหนาแน่น ทำให้การขับขี่มีความสะดวกสบายมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก เนื่องจากเท้าซ้ายไม่ต้องคอยเหยียบครัชให้วุ่นวายอีกต่อไป เรามาดูวิธีการขับขี่เกียร์อัตโนมัติที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อเกียร์และ กระเป๋าของท่านกันดีกว่าครับ
1)การขับรถเกียร์ออโต้โดยทั่วๆไป ที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้เทคนิคพิเศษแบบนักแข่งรถ ควรใช้เท้าขวาเพียงเท้าเดียวในการเหยียบคันเร่งเบรค ไม่ควรใช้เท้าซ้ายเหยียบเบรค
2) สำหรับท่านที่เพิ่งจะเริ่มขับรถ พยายามเบรคด้วยเท้าขวาเท่านั้น และเหยียบเบรคทุกครั้งก่อนสตารท์รถ เพื่อป้องกันอันตรายถึงแม้ตำแหน่งเกียร์จะอยู่ที่ตำแหน่ง(P)หรือ(N)ก็ตาม และเหยียบเบรคทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ว่าง( N ) หรือเกียร์จอด (P) ไปเป็นเกียร์เดินหน้า (D) หรือเกียร์ถอยหลัง (R) จำไว้ให้ขึ้นใจครับ รถหยุดนิ่ง เหยียบเบรคก่อนทุกครั้งก่อนขยับเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ครับ
3) ถ้าท่านเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำแหน่งเดินหน้า (D) ไปเป็นตำแหน่งถอยหลัง (R) หรือเปลี่ยนจากตำแหน่งถอยหลัง (R) ไปเป็นตำแหน่งเดินหน้า (D) ควรให้รถหยุดสนิทให้เรียบร้อยก่อน หลายท่านขับแบบใจร้อนและผิดวิธี รถยังคงเคลื่อนที่อยู่ก็รีบเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ จะทำให้เกียร์มีอายุการใช้งานสั้น อย่าลืมว่า ค่าซ่อมหรือเปลี่ยนเกียร์ใหม่ในรถยนต์บางรุ่นมีราคาสูงมาก
4) ขณะที่รถวิ่งอยู่ไม่ควรเข้าเกียร์ตำแหน่ง (N) เช่นเห็นไฟแดงข้างหน้าแต่ยังอีกไกล กลัวว่าจะไม่ประหยัดน้ำมัน ท่านจึงเข้าเกียร์ในตำแหน่ง (N) และปล่อยให้รถไหลไปจนถึงไฟแดง รถแทบทุกรุ่นในยุคปัจจุบันใช้ระบบหัวฉีดควบคุด้วยสมองกลที่ทันสมัย การจ่ายเชื้อเพลิงขึ้นตรงกับลิ้นปีกผีเสื้อ ถ้าท่านยกเท้าออกจากคันเร่งลิ้นปีกผีเสื้อก็จะปิดทันที เซนเซอร์ลิ้นปีกผีเสื้อจะรายงานกล่องสมองกลที่ควบคุมระบบการจ่ายเชื้อเพลิง ให้หยุดทำการจ่ายน้ำมันทันที ไม่มีความจำเป็นที่ต้องปลดเกียร์ว่าง (N) แต่อย่างใด และยังเป็นผลเสียอย่างร้ายแรงต่อเกียรืของท่านอีกด้วย เนื่องจากรถยนต์ในขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว เกียร์ที่อยู่ในตำแหน่ง(D) จะมีปั้มแรงดันสูง ส่งน้ำมันเกียร์เข้าไปหล่อลื่นอยู่ตลอดเวลา
แต่ปั้มน้ำมันของเกียร์อัตโนมัติจะทำงานน้อยลงเมื่อเกียร์ อยู่ในตำแหน่ง (N) เมื่อไม่มีแรงดันที่พอเพียงจะดันน้ำมันไปหล่อลื่นเกียร์อย่างเพียงพอ จะทำให้เกียร์ออโต้ของท่านร้อน และเกิดการสึกหรอเสียหายตามมา และด้วยสาเหตุนี้เองเวลารถที่ใช้เกียร์ออโต้เสียและจำเป็นต้องลากไปอู่จึงจำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเติมน้ำมันเกียร์เพิ่มเข้าไปอีก เพื่อช่วยลดความร้อนของเกียร์ขณะที่ทำการลากจูง หรือถ้าหาน้ำมันเกียร์มาเติมไม่ได้ ควรยกให้ล้อที่ใช้ขับเคลื่อนให้ลอยพ้นพื้นถนนเนื่องจากระบบปั้มน้ำมัน เพาว์เวอร์ของระบบเกียร์อัตโนมัติหยุดทำงาน ไม่แนะนำให้ถอดเพลาสำหรับรถขับเคลื่อนล้อหลังเพระยุ่งยากและเสียเวลามากครับ ปัจจุบันนี้มีรถยก 6 ล้อ แบบสไลด์ออนสามารถนำรถทั้งคันขึ้นไปไว้บนกระบะหลัง สะดวกสบายและปลอดภัยต่อเกียร์อัตโนมัติและรถยนต์ราคาแพงของท่านครับ
5) การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ 2 ต้องระมัดระวังเนื่องจากตำแหน่ง 2 จะมีอัตตราทดเฉพาะเกียร์ 1 และ 2 ซึ่งบริษัทผู้ผลิตต้องการทำให้ท่านเจ้าของรถใช้งานในกรณีที่ต้องการแรงบิด มากๆเช่นทางขึ้นเนินที่ค่อนข้างชัน หรือต้องการการหน่วงความเร็วของรถเอาไว้เช่นในขณะที่ขับรถลงเนินเขา(ENGINE BRAKE) หรือวิ่งบนเส้นทางที่คดเคี้ยว ลาดชันมากๆ ห้ามใช้ตำแหน่งเกียร์ 2 ในขณะที่ท่านขับรถด้วยความเร็วสูง เพราะจะทำให้เครื่องยนต์ใช้รอบเครื่องสูงตามไปด้วย จนเกินขีดจำกัดและก่อให้เกิดความเสียหาย และอาจลื่นไถลเนื่องจากเกิดแรงบิดมหาศาลมากระทำที่ล้อ ทำให้รถเสียการทรงตัวได้ครับ
6) ไม่ควรขับลากเกียร์ โดยทั่วไปการขับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ตำแหน่งเกียร์จะอยู่ที่ (D) ระบบสมองกลที่ควบคุมเกียร์จะทำการสั่งงานให้ปรับเปลี่ยนเกียรให้ขึ้นลงตาม ความเหมาะสมและความเร็วของรถอยู่ตลอดเวลา บางท่านรู้มากใช้วิธีเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์โดยการเลื่อนคันเกียร์ขึ้นลงเองใน ขณะที่รอบเครื่องทำงานสูงสุดเพียงเพื่อหวังผลทางด้านอัตราเร่งแต่จะมีผลทำ ให้ผ้าคลัทช์ และระบบทอกค์คอนเวอร์เตอร์เกิดการสึกหรอเสียหาย และทำให้มีอายุการใช้งานของเกียร์อัตโนมัติสั้นลง
7) ไม่ขับแบบเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำเอง(คิกดาวน์)บ่อยๆ การขับในตำแหน่ง (D)ระบบสมองกลควบคุมเกียร์จะทำการคำนวนค่าของแรงต่างๆและปรับเปลี่ยนตำแหน่ง เกียร์ตามความเร็วของรถในขณะนั้นตลอดเวลาอยู่แล้ว การกดคันเร่งเพื่อเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำหรือที่เรียกว่าคิกดาวน์ ไม่ควรทำบ่อยครั้ง หรือทำเท่าที่จำเป็นในการเร่งแซงให้พ้นเท่านั้น ถ้าท่านทำบ่อยๆ ผ้าคลัทช์ของเกียร์จะทำงานหนักและสึกหรอเร็วมากขึ้นครับ
ควรมีสายพ่วงแบตตารี่ติดท้ายรถไว้ตลอดเวลา เนื่องจากรถยนต์เกียร์อัตโนมัติไม่สามารถเข็นด้วยความเร็วต่ำแล้วกระตุ กสตารท์ให้ติดเครื่องยนต์ได้เหมือนรถยนต์เกียร์ธรรมดา การเข็นรถเกียร์อัตโนมัติแล้วใช้วิธีกระตุกสตารท์ ต้องใช้ความเร็วอย่างน้อย 20กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเข็นด้วยแรงคนเป็นไปได้ยาก และยังเสี่ยงกับความเสียหายต่อเกียร์ในขณะที่ทำการเข็นหรือลากอีกด้วย ควรตรวจสอบแบตตารี่ให้มีไฟพอเพียงต่อการสตารท์ทุกครั้งครับ
9) น้ำมันเกียร์อัตโนมัติหัวใจของการหล่อลื่นและยืดอายุการใช้งานของเกียร์รถ ท่านให้ยาวนาน จึงควรเอาใจใส่ตรวจสอบบ่อยๆ การตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าขีดที่ก้านวัด กำหนดหมั่นเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะทางทีแนะนำ ไม่มีเกียร์อัตโนมัติใดไม่ต้องการการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตลอดอายุการใช้ งานของรถตามที่มีหลายๆบริษัทผู้ผลิตรถยนต์โฆษณาชวนเชื่อให้รถยนต์ของตนดูทน ทานและแข็งแรงตามความเป็นจริงจากสภาพการจราจร อุณภูมิ และสภาพการขับขี่ เกียร์อัตโนมัติทุกยี่ห้อยังต้องการการดูแลแปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะ ทางที่ใช้ครับ
เพราะเราใส่ใจดูแลรักษารถยนต์ เหมือนกับเป็นลูกของเราครับ
กำลังหัดขับพอดี
ขอบคุณค่ะ
แล้วจอดติดไฟแดง ก็ให้ใส่Nแล้วเบรคมือ..
แต่ถ้าใส่Dแล้วเหยียบเบรคค้างไว้ เกียร์มันจะพังไม่ใช่เหรอ