Car Sharing คืออะไร ?

Car Sharing คืออะไร พร้อม 5 ผู้บริการที่ดีที่สุดในโลก

ในสภาพที่ระบบขนส่งสาธารณะที่มีความหนาแน่นเสมอๆ และค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูงเรื่อยๆ แต่หากคุณไม่อยากไปเบียดเสียดแย่งยุดฉุดกระชากกับใครๆ ที่ทำให้คุณประสาทเสียเล่นๆ อย่างไรแล้ว หากคุณมีงบมากพอแต่ยังไม่ถึงขั้นซื้อรถเป็นของตัวเอง ธุรกิจ car sharing จัดได้ว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด แต่กลับน่าตกใจว่า ประเทศไทย มองว่าเป็นเรื่องใหม่มากๆ ในเรื่องนี้ เพราะรูปแบบนี้ ก็เหมือนกับ "รถเช่า" ดั่ง แพะกับแกะ ซึ่งเราจะมาอธิบายให้ละเอียดๆ กับรูปแบบใช้บริการร่วมประเภทนี้ ให้ทราบกัน


Car Sharing คืออะไร !?

เป็นธุรกิจให้บริการรถเช่าระยะสั้นที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยการให้บริการในรูปแบบ Business to Consumer เติบโต 39% ต่อปี วัตถุประสงค์ของการให้บริการ car sharing จะมุ่งเน้นไปสู่การลดปริมาณการใช้รถยนต์บนท้องถนน มีความแตกต่างกับ "รถเช่า" เนื่องจากได้รวบรูปแบบการบริการให้เช่ารถแบบปัจเจกที่เข้าถึงง่ายกว่า โดยธุรกิจมีรูปแบบการให้บริการ 2 ประเภท คือ

1) รูปแบบ Peer to Peer (P2P) ที่จะมีการจับคู่ระหว่างเจ้าของรถที่แท้จริง ที่หวังจะหารายได้เสริมจากการปล่อยให้เช่ารถกับบุคคลที่อยากเช่ารถ เพื่อให้รถยนต์มักถูกจอดทิ้งไว้ ได้ออกวิ่งหรือให้เครื่องยนต์ได้มีการทำงาน อารมณ์เหมือน Air BNB ก็ไม่ผิด

2) รูปแบบ Business to Consumer (B2C) ที่พัฒนามาจากรูปแบบแรก เป็นการให้บริการรถเช่าระยะสั้นแก่สมาชิก โดยรถที่ให้เช่าเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ไม่ใช่รถส่วนบุคคล ซึ่งรูปแบบนี้จะมีจุดแข็งในการให้บริการในลักษณะ one way trip สมาชิกสามารถใช้บริการ ณ จุดที่สะดวกและไม่จำเป็นต้องนำรถมาจอดคืนที่เดิม เนื่องจากมีบริการจุดจอดรถจำนวนมาก


ประเทศที่ใช้บริการ Car Sharing มากที่สุด

1) เอเชีย-แปซิฟิก ด้วยความบริเวณภูมิภาคนี้ จะมีประชากรที่มีกำลังทรัพย์สูงในการใช้จ่าย และพื้นที่ที่จำกัดจากความหนาแน่นของเมืองใหญ่ๆ เป็นสำคัญ ทำให้มีรูปแบบ "รถเช่าร่วม" กันเป็นจำนวนมาก อาทิ เช่น 2 ประเทศในเขตภูมิภาค ASEAN ที่เจริญที่สุด ทั้ง มาเลเซีย กับ สิงคโปร์, ประเทศมหาอำนาจในเอเชีย อาทิ อินเดีย ที่มีประชากรมากเป็นพันล้านคน เช่นเดียวกับ จีน, ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ และ 2 ประเทศในพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ทั้ง ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ มีจำนวนสมาชิกมากถึง 2.3 ล้านคน และมีรถยนต์ที่เป็น Car Sharing มากถึง 22,844 คัน

2) กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป ด้วยความที่เป็นพื้นที่ที่เล็ก แต่เต็มไปด้วยประเทศเล็กประเทศน้อยมากมาย และทุกประเทศในยุโรปสามารถเดินทางไปหากันสะดวกสบาย แค่เน้นประเทศยักษ์ใหญ่ๆ ก็มากมายแล้ว อาทิ สหราชาณาจักร, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, สเปน, ออสเตรีย, สวิตเซอร์แลนด์ และ อิตาลี มีจำนวนสมาชิกมากถึง 2.2 ล้านคน และมีรถยนต์มากถึง 57,947 คันด้วยกัน

3) ทวีปอเมริกาเหนือ จัดได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของประชากรมากพอตัว แค่ สหรัฐอเมริกา ประเทศเดียว ก็มากพอที่จะมีรูปแบบ "รถเช่าร่วม" แบบนี้แล้ว เพราะเป็นประเทศใหญ่ ปกครองแบบรัฐรวมที่แต่ละรัฐๆ มีเพื่อนใหญ่กว่าประเทศไทยเสียอีก มีจำนวนสมาชิกมากถึง 1.6 ล้านคน และมีรถยนต์มากถึง 24,210 คัน


สิ่งที่มีเหมือนของประเทศที่ใช้รูปแบบ Car Sharing

1) ความหนาแน่นของประชากรสูง เป็นปัจจัยสำคัญต่อความคุ้มค่าในการลงทุน เพราะพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของประชากรต่ำ มักจะมีการลงทุนในระบบขนส่งสาธารณะต่ำเช่นกัน หรืออีกนัยหนึ่ง ประชาชนจะยังคงมีความสะดวกจากการใช้รถยนต์ส่วนตัวมากกว่า 

2) ระบบขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุมในหลากหลายพื้นที่ จนทำให้ประชาชนลดความจำเป็นในการใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือหากจำเป็นต้องใช้ก็ใช้เพื่อเดินทางต่อจากระบบขนส่งสาธารณะในระยะเวลาสั้นๆ เพียง 10-15 นาที

3) นโยบายและการรณรงค์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ในการสนับสนุนการลดมลพิษทางอากาศจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการจราจรทางบก ด้วยการจัดสร้างและใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ

4) ปริมาณจุดจอดรถสาธารณะที่ครอบคลุมในหลากหลายพื้นที่ โดยมีการสนับสนุนจากภาครัฐในการจัดเตรียมจุดจอดรถพิเศษสำหรับรถยนต์ที่ให้บริการ car sharing โดยเฉพาะ


Car Sharing ในประเทศไทย

ยังพบว่ามีข้อจำกัดทั้งการครอบคลุมของระบบขนส่งสาธารณะและปริมาณจุดจอดรถไม่เพียงพอ อีกทั้งไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคในไทยได้มากนัก แม้กรุงเทพฯ และปริมณฑล จะเป็นเมืองที่มีประชากรจำนวนมากและมีระบบขนส่งสาธารณะในหลากหลายรูปแบบ ทั้งขนส่งระบบรางอย่าง BTS, MRT, เรือด่วนคลองแสนแสบและแม่น้ำเจ้าพระยา รวมไปถึงรถประจำทาง

แต่ระบบขนส่งสาธารณะเหล่านี้ยังไม่ครอบคลุมในทุกพื้นที่ และไม่มีการเชื่อมโยงกันมากพอที่จะทำให้ผู้บริโภคพิจารณาลดการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว รวมถึงจุดจอดรถ เช่น อาคารจอดแล้วจร ยังมีปริมาณน้อยและไม่กระจายตัวไปยังบริเวณชานเมือง อีกทั้งยังไม่มีการกำหนดพื้นที่จอดรถสาธารณะในเขตชุมชนหรือย่านการค้า ส่งผลกระทบให้การบริการ car sharing ในรูปแบบ B2C ไม่สามารถให้บริการในลักษณะ one way trip

แต่อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีหลายจ้าวที่จะเข้ามาในตลาด Car Sharing ในเมืองไทย ให้เกิดการจดจำไปบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Drivemate สตาร์ทอัพเจ้าใหญ่ในไทย คว้าเงินทุน 2.2 ล้านเหรียญฯ ดันบริการรถเช่าแบบรายเดือน Car Subscription หรือแม้กระทั่ง Haup Car ก็ทำให้แล้ว เพื่อกลุ่มที่อาศัยภายในเขตเมือง


5 แบรนด์ Car Sharing

1) Haupcar (ฮ้อปคาร์) ก่อตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 นำเอาเทคโนโลยีแบบใหม่มาให้บริการคาร์แชร์ริ่งผ่าน Mobile Application ทำให้การเช่ารถรายชั่วโมงกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น สามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยผู้ใช้สามารถปลดล็อกรถผ่านมือถือแทนการใช้กุญแจ โดยมีจุดให้บริการมากถึง 100 จุดทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล

2) BlueSG เปิดให้บริการคาร์แชร์ริ่ง (Carsharing) ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2560 มีรถยนต์ไฟฟ้า (EV Car) จำนวน 80 คัน จำนวนสถานีชาร์จ 32 สถานี และถ้าโครงการ Singapore EV Car Sharing นี้เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2563 สิงคโปร์จะมีรถยนต์ไฟฟ้าให้บริการจำนวน 1,000 คัน และมีสถานีชาร์จ 2,000 จุด ทั่วสิงคโปร์

3) Times CAR RENTAL บริษัทให้บริการทั้ง รถเช่า กับ Car Sharing ชื่อดังของประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นจ้าวเดียวที่มีให้บริการตัว "รถเช่าร่วม" ซึ่งมีรถยนค์ประเภทนี้ ถึง 21,591 คันทั่วเกาะญี่ปุ่น

4) Zipcar บริษัท Car Sharing ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทลูกในเครือของรถเช่า AVIS จุดเด่นของจ้าวนี้ จะอยู่ในทุกจุดในเมืองนั้น รวมไปถึงใกล้สถานศึกษา อย่าง มหาวิทยาลัย ทั่วแดนลุงแซม และมีสาขาในต่างแดน ที่จะอยู่ในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ทั้ง แคนาดา และ คอสตาริก้า รวมไปถึง 3 ประเทศท่องเที่ยวของยุโรป อาทิ สหราชาณาจักร, ไอซ์แลนด์ และ ตุรกี ล่าสุดได้เข้ามาในภูมิภาคเอเชียแล้ว อย่าง ไต้หวัน หรือ ไชนีส-ไทเป

5) Enterprise Car Club บริษัท Car Sharing ในประเทศอังกฤษ ที่ทาง Enterprise เทคโอเวอร์มาจาก City Car Club มีให้บริการทั้ง รถยนต์ขนาดเล็ก,รถยนต์ขนาดกลาง, รถยนต์ขนาดใหญ่, รถตู้ และ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ที่มีอยู่แพร่หลายในถิ่นเมืองผู้ดี ที่ทำให้คุณเดินทางท่องเที่ยวในเกาะอังกฤษได้อย่างสะดวกสบาย

Visitors: 2,204,186